โรคกรดไหลย้อนในเด็ก

กรดไหลย้อนในเด็ก อันตรายหรือไม่?

โรคกรดไหลย้อน หลายคนอาจไม่รู้ว่าสามารถเกิดขึ้นกับทารกได้ โดยในทารก 100 คน สามารถเป็นกรดไหลย้อนได้มากถึง 25 คน เป็นอีกหนึ่งปัญหาสุขภาพของทารกที่พ่อแม่หรือผู้ปกครองควรรู้ เพื่อปฏิบัติกับลูกให้เหมาะสม ป้องกันอาการกรดไหลย้อนที่ทำให้ทารกไม่สบายตัว คลื่นไส้ อาเจียน ปวดท้อง และอาจนอนหลับไม่สนิท หากมีอาการรุนแรงทารกจะกินได้น้อยลงอีกด้วย ส่งผลเสียต่อสุขภาพ

อาการกรดไหลย้อนในทารก
- คลื่นไส้ อาเจียนหลังกินนม
- กระสับกระส่ายทุกครั้งที่กินนม
- น้ำหนักไม่ค่อยขึ้นในช่วง 1 เดือนที่มีอาการ
- นอนไม่หลับ ร้องงอแง
- กินได้น้อยลงหากมีหลอดลมอักเสบ

ปัจจัยการเกิดกรดไหลย้อนในทารก
- หูรูดหลอดอาหารส่วนปลายต่อกับกระเพาะอาหารยังไม่แข็งแรงเท่าวัยอื่น จึงเกิดการไหลย้อนกลับของนมขึ้นมาทางหลอดอาหาร
- ทารกกินนมในท่านอนเป็นหลัก จึงมีโอกาสไหลย้อนกลับขึ้นมาในหลอดอาหารได้ง่าย

วิธีป้องกันกรดไหลย้อนในทารก

- อุ้มเรอ หลังจากที่ให้กินนม
- อย่าให้นอนราบทันที โดยอาจให้ทารกนอนบนที่นอนกันกรดไหลย้อน ให้ศีรษะตั้งขึ้นประมาณ 30 องศา ช่วงเวลาหนึ่ง เพื่อให้นมไหลผ่านไปได้

ข้อมูลจาก :
RAMA CHANNEL
คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล

 

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้